วัดแสงแก้วโพธิญาณนับเป็นวัดที่มีชื่อเสียงอีกแห่งหนึ่งที่มีสถาปัตยกรรมงดงาม เพราะเป็นประติมากรรมพุทธศิลป์และศิลปะที่ออกแบบโดยพระครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต แบ่งพื้นที่ออกเป็นชั้น ๆ ซึ่งสถาปัตยกรรมภายในวัดจะมีการผสมผสานระหว่างศิลปะล้านนา ศิลปะไทยใหญ่ และศิลปะพม่า แสดงออกถึงความเชื่อและวัฒนธรรมของชาวพุทธในดินแดนล้านนาแฝงความหมายเชิงธรรมะและหลักพุทธรรมอันลึกซึ้งไว้ในทุกองค์ประกอบ 

ภายในวัดมีการจัดสวนสีเขียวแบบทรอปิคอล มีการพ่นไอน้ำออกมาโดยรอบ บรรยากาศงดงามชวนฝันมาก

ซุ้มประตูของวัดที่มีความอลังการ ด้านหน้ามีรูปปั้นพระอุปคุต และพระสังกัจจายน์ ตั้งขนาบสองข้างซุ้มประตู รูปปั้นท่านท้าวจตุมหาราชทั้งสี่ ประกอบไปด้วย ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวธตรฐ ท้าววิรูปักษ์ ท้าววิรุฬหก  มองเห็นยักษ์สองตนด้านขวานั้นในมือมีทั้งบุหรี่และเหล้า ทำสัญลักษณ์มือบอกรัก ส่วนที่เท้ามีทั้งรองเท้าแตะและรองเท้าผ้าใบคอนเวิร์ส เรียกได้ว่าเป็นปริศนาธรรมที่ผสมผสานความเชื่อดั้งเดิมเข้ากับวัตถุสมัยนิยมในยุคนี้ ซึ่งยักษ์ทั้ง 2 ตนนี้ได้ถูกกล่าวขานถึงอย่างกว้างขวาง

 

พุทธศิลป์และศิลปะที่อยู่ภายในวัดแสงแก้วโพธิญาณ ออกแบบสถาปัตยกรรม โดย พระครูบาอริยชาติ ผสมผสานระหว่างโลกธรรม แสดงออกถึงความเชื่อและวัฒนธรรมของชาวพุทธในดินแดนล้านนาอย่างชัดเจน มีการผสานงานศิลป์ 3 รูปแบบไว้อย่างกลมกลืน ทั้ง ศิลปะล้านนา ศิลปะไทยใหญ่ และศิลปะพม่า ซึ่งล้วนมีนัยที่สื่อความหมายในเชิงธรรมะและแฝงหลัก “พุทธธรรม” อันลึกซึ้งเอาไว้ในแทบทุกองค์ประกอบของวัด

ประวัติท่านครูบาอริยชาติ

ครูบาอริยชาติได้เมตตาถ่ายทอดเรื่องราวเกี่ยวกับตัวท่านให้ฟังว่า เมื่อตอนที่ท่านตัดสินใจบวชเป็นสามเณร เรื่อยมาจนถึงช่วงแรกของการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ความสนใจของท่านอยู่ที่การเรียนรู้ศาสตร์วิชาอาคม ตลอดจนการทำเครื่องรางของขลังต่าง ๆ


ครูบาอายุ 17 ปี ครูบาสนใจในแนวไสยศาสตร์หรือเครื่องรางของขลัง แต่พออายุได้ 21 ปี ครูบามาคิดได้ว่าเครื่องรางของขลังมันไม่ใช่ของแท้ ของแท้คือธรรมะ และพออายุ 25 ปี ครูบาก็ได้เข้าใจในสาระธรรม ครูบาจึงอยากเตือนให้ทุกคนเข้าใจว่าธรรมะคือสิ่งประเสริฐ ธรรมะสามารถทำให้คนเป็นสุขได้ ก็เลยอยากให้ทุกคนได้เข้าถึงธรรม ได้เป็นสุขทั่วกัน แล้วจะรู้ว่าสุขนั้นไม่ได้อยู่ที่ไหน อยู่ที่ใจเรานี่เอง”

ในขณะเริ่มดำเนินการสร้างวัดแสงแก้วโพธิญาณ ครูบาอริยชาติมีอายุได้ 25 ปี จึงนับเป็นช่วงเวลาสำคัญแห่งการเปลี่ยนแปลงชีวิตและ “มุมมอง” ของท่านที่มีต่อโลกและสิ่งต่างๆ รอบตัว และมุมมองเกี่ยวกับธรรมะที่เป็นไปอย่างละเอียดลึกซึ้งมากขึ้นของท่านนี้เองก็ได้ถูกถ่ายทอดออกมาสู่ผลงานชิ้นสำคัญ นั่นคือ วัดแสงแก้วโพธิญาณ

สิ่งที่ยืนยันถึงความจริงดังกล่าวก็คือ นอกเหนือจากความยิ่งใหญ่และวิจิตรงดงามของสิ่งก่อสร้างและศาสนวัตถุต่างๆ ภายในวัดที่ปรากฏแก่สายตาแล้ว ครูบาอริยชาติยังได้สอดแทรกนัยสำคัญอันเป็น “สัจธรรม” แห่งชีวิตตามหลักพระพุทธศาสนาเอาไว้ในศิลปะต่างๆ อย่างหลากหลาย ทั้งนี้เพื่อเป็นพุทธานุสสติ หรือเป็นสิ่งเตือนใจให้ญาติโยมพุทธศาสนิกชนที่มาเยี่ยมเยือนได้พึงระลึกไว้นั่นเอง

ด้วยเหตุนี้ เมื่อพิจารณาในด้านโครงสร้างหรือรูปแบบในการก่อสร้างแล้ว จะเห็นว่าการออกแบบและตกแต่งวัดแห่งนี้ นอกจากแสดงออกถึงความเชื่อและวัฒนธรรมของชาวพุทธในดินแดนล้านนาอย่างชัดเจนแล้ว การแบ่งพื้นที่ใช้สอยตลอดจนแผนผังรูปแบบศาสนวัตถุและเสนาสนะต่างๆ ล้วนมีนัยที่สื่อความหมายในเชิงธรรมะและแฝงหลัก “พุทธธรรม” อันลึกซึ้งเอาไว้ในแทบทุกองค์ประกอบของผังวัด

วัดแสงแก้วโพธิญาณตั้งอยู่บนเนินเขาที่ไม่สูงนัก เมื่อมองลงไปจากเนินกว้างในจุดที่ก่อสร้างวัด จะเห็นบ้านเรือนของชาวบ้านอยู่เบื้องล่างอย่างชัดเจน ซึ่งก็คือหมู่บ้านป่าตึง และหมู่บ้านใกล้เคียงใน ต.เจดีย์หลวง และอาณาเขตอีกด้านหนึ่งเป็นป่าและที่สวนของชาวบ้านซึ่งอยู่โดยรอบบริเวณวัด
ด้วยสภาพภูมิประเทศดังกล่าว ทำให้ครูบาอริยชาติได้นำแนวคิดจากความเชื่อในทางพระพุทธศาสนา มาใช้ในการออกแบบส่วนต่างๆ ภายในวัด โดยแบ่งเนื้อที่ภายในบริเวณวัดออกเป็น 3 ส่วน ตามระดับความสูงของพื้นที่ซึ่งเล่นระดับเป็นชั้นๆ ได้แก่

คือพื้นที่นับตั้งแต่ทางขึ้นบันไดนาคด้านหน้าวัดเป็นต้นไป จนถึงด้านหลังของวิหารซึ่งพื้นที่บริเวณนี้ใช้สำหรับการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาและศาสนพิธีต่างๆ ตลอดจนใช้เป็นที่ปฏิบัติธรรมของพระภิกษุสงฆ์และฆราวาส

อนึ่ง หากพิจารณาตามพื้นที่ใช้งาน ส่วนนี้นับเป็นเขตพุทธาวาส เนื่องจากเป็นพื้นที่สำหรับพระสงฆ์ใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาเป็นหลัก โดยสิ่งปลูกสร้างที่จัดให้อยู่ในพื้นที่นี้ ได้แก่ พระอุโบสถ พระวิหาร หอระฆัง หอไตร เป็นต้น